หน้า 18 จาก 31
หน้า 18
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ศาลสหรัฐสั่งเลิกผูกขาด'ยีน' ชี้ของธรรมชาติ-จดสิทธิบัตรไม่ได้
เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ที่สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐ อเมริกา (USPTO) จดสิทธิบัตร "ยีน" ของมนุษย์ที่เราๆ ท่านๆ มีกันอยู่มาตั้งแต่เกิด ท่ามกลางการคัดค้านของเหล่านักวิทยาศาสตร์ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นมาก มาย เนื่องจากทำให้เป็นอุปสรรคการวิจัย และผู้บริโภคก็ต้องจ่ายค่าตรวจแพงขึ้น เพราะค่าสิทธิบัตร
ล่าสุดศาลสูงสุดของสหรัฐพบว่าการจดสิทธิบัตร 2 ชิ้น ที่เกี่ยวข้องกับยีนในโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ไม่ถูกต้อง และสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวในทันที
ที่มาของยีนดังกล่าว ได้แก่ BRCN 1 ถูกค้นพบโดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยยูทาห์ ในปี 2537 และยีน BRCN 2 ถูกค้นพบโดยนักวิจัยสหรัฐ ทั้งสองกลุ่มยื่นขอจดสิทธิบัตรต่อ USPTO จากนั้นบริษัท Myriad Genetics ได้ซื้อสิทธิบัตรดังกล่าวทั้งสองชิ้นไปเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยและผลิตน้ำยาตรวจ
BRCN1 และ BRCN2 ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านมและรังไข่ ทว่าการจดสิทธิบัตรส่งผลให้ผู้ที่จะดำเนินการศึกษาวิจัยต้องขออนุญาตและจ่ายเงินให้ Myriad Genetics เสียก่อน นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ผู้ป่วยทั่วโลกต้องก้มหน้าจ่ายค่าตรวจเป็นเงินหลายพันดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นค่าสิทธิบัตรให้ Myriad Genetics อีกด้วย
คณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐมีมติเสียงข้างมาก ให้เพิกถอนสิทธิบัตรในยีน BRCN 1 และ BRCN 2 ทันที โดยให้เหตุผลว่า การนำส่วนของรหัสพันธุ กรรม (ยีน) มาดัดแปลงแก้ไขสามารถจดสิทธิบัตรได้ แต่ยีนทั้งสองชุดเป็นส่วนของรหัสพันธุกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรม ชาติ การจดสิทธิบัตรจึงถือว่าไม่ชอบ อย่างไรก็ตาม การตัดสินดังกล่าวมิได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิบัตรน้ำยาตรวจในห้องปฏิบัติการของ Myriad Genetics เนื่อง จากเทคนิคที่ใช้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาโดยถูกต้อง คือ การเปลี่ยนยีนให้เป็นรหัสพันธุกรรมแบบ RNA ผ่านกระบวนการถอดรหัส จากนั้นจึงใช้เอน ไซม์ที่จำเพาะเปลี่ยนเป็น cDNA
เว็บเอ็กซ์ตรีมเทคระบุว่า การตัดสินครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก แม้ Myriad Genetics จะยังคงเป็นเจ้าของเทคนิคการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่จะส่งผลให้นักวิจัยทั่วไปสามารถเข้าถึงยีน BRCN 1 และ 2 ได้มากขึ้น เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจและบำบัดที่ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วย รวมทั้งเป็นบรรทัดฐานที่เป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการผูกขาดด้านการวิจัยยีนอีกต่อไปในอนาคต
|