วิทยาการ พฤษภาคม 55 ข่าวสด
หน้า 1 จาก 31
สารบัญ
วันที่ 1 พฤษภาคม พ .ศ. 2555
แก้แพนด้า
แปะไว้วันละ 3 นาที Eye Slack Haruka จะสั่นและปล่อยความร้อนอ่อนๆ
จากพลังแบตเตอรี่ช่วยลดถุงใต้ตาและรอยดำคล้ำได้ในราคา 123 ดอลลาร์ หรือราว 3,700
บาท (japantrendshop)
กูเกิ้ล
ไดรฟ์
หมุนก่อนโลก
ศักดิ์สกุล
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
กูเกิ้ลเปิดบริการพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์
กูเกิ้ล ไดรฟ์ (Google Drive) บริการฝากแชร์ไฟล์ในระบบ คลาวด์ (cloud storage)
ในฉบับของกูเกิ้ล ซึ่งมาพร้อมพื้นที่เก็บมากถึง 16 เทราไบต์ หรือ 16,000 กิกะไบต์
มีทั้งแบบฟรี และเสียค่าใช้จ่าย
กูเกิ้ล ไดรฟ์ จะรวบรวมความสามารถต่างๆ
เกี่ยวกับระบบค้นหา และเปิดให้ผู้ใช้เก็บรูปภาพ บันทึก และเอกสารต่างๆ
บนโลกอินเตอร์เน็ตได้
เบื้องต้น ผู้ใช้จะได้พื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 5
กิกะไบต์ และต้องเสียค่าบริการเพิ่มหากต้องการพื้นที่เก็บที่เพิ่มขึ้น
โดยซื้อความจุเพิ่มได้มากถึง 100 กิกะไบต์ผ่านระบบจ่ายเป็น
'รายเดือน'
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของกูเกิ้ลเพิ่มความร้อนแรงในการแข่งขันระบบเก็บข้อมูลออนไลน์กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตน้องใหม่
อย่างดร็อปบ็อกซ์ เอฟเวอร์โน้ต รวมถึงบริการ สกายไดรฟ์ ของไมโครซอฟท์
ทั้งนี้ กูเกิ้ล
ไดรฟ์เน้นบริการเก็บข้อมูลที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เก็บไฟล์ข้อมูลส่วนตัว ตั้งแต่เพลง
วิดีโอ และรูปถ่าย ไว้บนเซิร์ฟเวอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
และเข้าถึงข้อมูลผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งสมาร์ตโฟน แท็บเล็ตพีซี
และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้ทุกเวลา
สรุปคือรองรับอุปกรณ์ได้หลากหลายแพลตฟอร์ม
ส่วนในโทรศัพท์ไอโฟนของแอปเปิ้ลนั้น
จะพร้อมให้บริการในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้
เรื่องสุดท้าย
คือรองรับการเชื่อมต่อแม้อยู่ในสเตตัส ออฟไลน์
ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาไฟล์ได้เพียงป้อนคำหลักในชื่อไฟล์นั้นๆ
ระบบจะคำนวณสิ่งที่ต้องการค้นหาได้อย่างแม่นยำ!
โครงการ'ท่วมได้ออกแบบได้ '
ชวนครีเอตผลงานชิงรางวัล
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บริษัทออกแบบ
FiF Design Studio, Cerebrum Design, KLS และหน่วยวิจัยการออกแบบ REDEK
มีโปรเจ็กต์สำคัญแห่งปีชื่อ 'ท่วมได้...ออกแบบได้' (Design for Flood)
ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปีก่อน
ชวนให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมออกแบบผลงานเพื่อสู้ภัยน้ำท่วม
ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 2,000,000 บาท หมดเขตส่งผลงาน 31
พ.ค.นี้
นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ TCDC เผยว่า
คนไทยเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตและอยู่ร่วมกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาได้อย่างดี
เห็นได้จากสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่มีออกมามากมาย
ด้วยเหตุนี้ทีมงานจึงลงพื้นที่น้ำท่วมสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ
ปริมณฑล และต่างจังหวัดและตีออกมาเป็นโจทย์ทางการออกแบบ หรือ Design Brief 10 โจทย์
และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้ร่วมพัฒนาแบบ และ Sketch Design
ต่อยอดผลิตผลงานผลิตภัณฑ์หรือบริการต้นแบบ (Prototype) ให้ออกมาเป็น
รูปธรรม
โดยทั้ง 10 โจทย์ประกอบด้วย
1.ระบบเครือข่ายตรวจวัดและประมวลข้อมูลน้ำ-จากปัญหาที่คนส่วนใหญ่ต้องการทราบข้อมูลระดับน้ำทั้งเรื่องปริมาณและความเร็วของน้ำที่เข้าปะทะพื้นที่
เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการอพยพหรือเตรียมพร้อมรับมือระหว่างการอาศัยอยู่กับน้ำ
2.ห้องน้ำสาธารณะที่เกิดความขาดแคลนอย่างหนัก
และมีปัญหาในการขนย้ายเข้าพื้นที่ประสบภัย 3.การบริการน้ำดื่ม
ที่เกิดปัญหาจากการมีน้ำหนักมาก ทำให้ขนส่งลำบาก ใช้เวลานานกว่าจะถึงมือผู้ประสบภัย
และมีปริมาณไม่เพียงพอ
4.ชุดป้าย
อุปกรณ์ติดตั้งฉุกเฉินสำหรับพื้นที่น้ำท่วม
และคู่มือ-จากปัญหาสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไปและวิธีการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ทำให้ไม่สามารถรับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง 5.เฟอร์นิเจอร์ลอยน้ำสำหรับโรงเรียน
สะท้อนถึงปัญหาความเสียหายเนื่องจากรูปแบบ รูปทรง
และน้ำหนักของเฟอร์นิเจอร์ไม่เอื้อต่อการขนย้าย
และไม่มีการวางแผนในการหนุนสิ่งของต่างๆ ให้สูงพ้นน้ำ
6.พาหนะส่วนตัวสำหรับเดินทางยามน้ำท่วม
เกิดจากความขาดแคลนยานพาหนะสำหรับเดินทางทางน้ำระยะสั้นและปัญหาเรื่องความเหมาะสมในด้านการใช้งาน
โดยเฉพาะสำหรับผู้ไม่มีทักษะในการพายเรือ
7.ตารางปลูกผักพอเพียงพร้อมอุปกรณ์
เพื่อป้องกัน 'ภาวะการขาดแคลนอาหาร'
เพื่อให้ประชาชนสามารถมีผักบริโภคหมุนเวียนได้เพียงพอตลอดระยะเวลาน้ำท่วม
8.เครื่องวัดระดับน้ำ ข้างทางสาธารณะ เพื่อใช้สถาปัตยกรรมสาธารณะที่มีอยู่แล้ว
(Street Furniture) เป็นตัวช่วยให้ผู้สัญจรตรวจสอบเส้นทางการเดินทางได้อย่างปลอดภัย
และสามารถให้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
9.คู่มือวินิจฉัยโรคอันตรายที่มากับน้ำท่วม
และแผ่นบันทึกอาการ
จากปัญหาที่ผู้ประสบภัยไม่มีความรู้เรื่องโรคอันตรายที่มากับน้ำท่วม
อยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคที่มากับน้ำท่วม ห่างไกลจากสถานพยาบาล
10.อุปกรณ์เก็บขยะทางน้ำ จากปัญหาขยะลอยล้นเมืองและการจัดเก็บไม่มีประสิทธิภาพ
เพราะไม่มีเครื่องมือที่ตอบสนองต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ทำให้เก็บขยะได้น้อย
และมีขยะตกค้าง
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดโจทย์และใบสมัครที่
www.tcdc.or.th/designforflood โดยวันพุธที่ 2 พ.ค.
จะเปิดให้ซักถามข้อมูลจากคณะทำงานที่ TCDC
และผลงานผู้ชนะจะนำไปจัดนิทรรศการเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปผลิตเป็นชิ้นงานจริงเพื่อบรรเทาปัญหาอันเกิดจากน้ำท่วมและอุบัติภัยรูปแบบอื่นๆ
ในอนาคต
เอซุสผุดศูนย์บริการใหม่พระราม9
สะดวก-ฉับไวซื้อใจลูกค้า
เอซุส หนึ่งในสามสุดยอดผู้นำจำหน่ายโน้ตบุ๊กระดับโลก เปิด ASUS Service Center
ศูนย์บริการหลังการขายแห่งใหม่ ย่านพระราม 9
เน้นรวดเร็วและความสะดวกของลูกค้า
นายพรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ
บริษัท เอซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า
ยอดขายที่เติบโตขึ้นทั้งโน้ตบุ๊ก อีพีซี หรือแท็บเล็ต ของเอซุส
ทำให้การเพิ่มเติมและปรับปรุงการบริการหลังการขายเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า
เอซุสตัดสินใจรวมทุกการบริการจาก 2 ศูนย์บริการที่สาขาพระราม 9 (IT Mall)
และสาขาพระราม 4 มาไว้ที่เดียวกันที่อาคารชำนาญเพ็ญชาติ บิสเนสเซ็นเตอร์ ชั้น 1
ถนนพระราม 9 เน้นความทันสมัยทั้งการออกแบบ สถานที่ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
ในพื้นที่ใช้สอยกว่า 300 ตารางเมตร แบ่งการบริการเป็น 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ให้บริการส่งซ่อม-รับเครื่องและชำระค่าบริการ
ที่แยกส่วนชัดเจนจากการให้บริการอื่นๆ
ส่วนที่ 2
ให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมผลิตภัณฑ์โดยตรง ด้วยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ
และอะไหล่แท้พร้อมรอรับเครื่องทันที (15-45 นาที แล้วแต่อาการของเครื่อง) และ
มุมรับรองลูกค้า
ส่วนที่ 3 ให้บริการแบบ Pickup & Return (PUR)
ซึ่งเป็นการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มร้านค้า-พันธมิตรทางธุรกิจ
ตั้งแต่การให้บริการรับเครื่องซ่อมเพื่อซ่อมจนถึงการส่งงานคืนแบบครบวงจร
ศูนย์ใหม่นี้เปิดจันทร์-เสาร์
เวลา 09.00-18.00 น. และวันอาทิตย์ เวลา 09.00-13.00 น. สอบถามโทร.เอซุส
คอลเซ็นเตอร์ 0-2401-1717