โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.2546 เมื่ออุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้ผ่านไป 16 ปี องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization , WHO) ซึ่งเป็นผู้ติดตามผลกระทบทางรังสีต่อสุขภาพของประชาชน ได้มีการวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่า ในประเทศ Belarus ประเทศ Ukraine และประเทศ Russian Federation ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสารกัมมันตรังสีตกลงสู่พื้นดินในปริมาณสูง มีอัตราการเป็นมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ในเด็กสูงขี้นกว่าอัตราปกตินับตั้งแต่ปีพ.ศ.2529 เป็นต้นมา ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการรับไอโอดีนรังสี อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ และ โดยปกติจะไม่ทำอันตรายให้ถึงแก่ชีวิต
.jpg)
(โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เซอร์โนบิล ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุ)
แม้ว่าขณะที่เกิดเหตุจะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนน้อย แต่ผลพวงสะสมของสารกัมมันตภาพรังสีกลับกินพื้นที่กว้างไกลและรุนแรงยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้นัก ซึ่ง ณ วันนี้ควาทรงจำของเหตุหายนะกำลังเริ่มจากหาย แต่กัมมันตภาพรังสีก็ยังคงฝังติดแน่น โดยที่ไม่มีใครตอบได้ว่าจะหมดลงเมื่อใด
เช้าตรู่ของวันที่ 26 เม.ย.29 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 1 ใน 4 ของโรงงานไฟฟ้าเชอร์โนบิล ในสหภาพโซเวียต เกิดระเบิดขึ้น แต่ทางรัฐบาลมอสโควแห่งสหภาพโซเวียตกลับมีปฎิกิริยาอย่างเชื่องช้าต่ออุบัติภัยดังกล่าว แม้ว่านานาประเทศในละแวกใกล้เคียงจะตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีลอยไปไกลหลายร้อยกิโลเมตร
การขาดข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง ทำให้มีการอ้างความเสียหายแค่เพียงจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิด ส่วนปัญหาการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีที่ไม่เห็นเป็นรูปธรรมก็ยังคงเป็นปัญหามาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ แม้จะผ่านเลยมาแล้ว 20 ปีก็ตาม
จึงนับได้ว่าเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดจนทำให้เกิดสารกัมมัตภาพรังสีรั่วไหลไปไกลในหลายพื้นที่นั้น นับเป็นอุบัติภัยทางนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การใช้นิวเคลียร์
แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล
ย้อนเหตุระเบิด 20 ปีก่อน
ระหว่างช่วงต่อวันที่ 25-26 เม.ย.2529 ทีมวิศวกรกะกลางคืนได้ทำการทดลองที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 โดยทดสอบว่าระบบทำความเย็นจะสามารถดึงกระแสไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์มาใช้อย่างไร หากเกิดกรณีไฟตกหรือพลังงานต่ำกว่าความต้องการ
การทดสอบดังกล่าวเริ่มขึ้นในเวลา 23.00 น. (ประมาณ 03.00 น. เวลาประเทศไทย) ด้วยการใช้การสูบที่ควบคุมกระบวนการฟิสชันในเตาปฏิกรณ์ ให้ดูดซับนิวตรอนและทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่ช้าลง ทำให้พลังงานที่ออกมาลดลงจากเดิม 20% เพื่อเตรียมการทดลอง
ปิดระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อการทดสอบ
อย่างไรก็ดี ระหว่างเตรียมการทดลองยังมีการสูบอีกหลายตัวที่ลดการทำงานและผลลัพธ์ลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเตาเกือบอยู่ในสภาพปิดการทำงาน ซึ่งทำให้วิศวกรเกรงว่าเตาจะไม่เสถียร จึงดึงกระบวนการกลับเพื่อให้ผลลัพธ์เพิ่มขึ้น
และในเวลา 00.30 น. ก็เริ่มการทดสอบขึ้น เมื่อเวลา 01.00 น. พลังงานของเตาเหลืออยู่เพียง 7% รวมกับก้านสูบบางตัวถูกทำให้เพิ่มการทำงานขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ระบบปิดตัวเองอัตโนมัติก็ถูกปิดไม่ให้ทำงาน เพื่อให้เตาได้เดินหน้าท่ามกลางสภาพพลังงานต่ำกว่าปกติ
จนกระทั่งเวลา 01.23 น. พลังงานของเตาเพิ่มขึ้นมาเป็น 12% ขณะที่การทดสอบเริ่มขึ้น และวิศวกรก็เพิ่มการทำงานของก้านสูบ แต่ในเวลาไม่ถึง 1 นาทีระดับพลังงานก็เกิดมีปัญหา และเตาปฏิกรณ์ก็เริ่มร้อนเกินพิกัด
ในที่สุด....ก็ร้อนจน ระเบิด !!
ทันทีที่เกิดความร้อนสูงเกิน ระบบปิดตัวเองก็ทำงานทันทีแต่ว่า ไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ ทำให้วิศวกรตัดสินใจอย่างฉับพลันตัดกระแสไฟฟ้าด้วยตัวเอง เพื่อหวังให้ก้านสูบต่างๆ กลับเข้าที่ แต่ความร้อนสูงเกินไปจากแกนของเตาปฏิกรณ์ก็ละลายก้านสูบจนเปลี่ยนรูปและขยับไม่ได้
อีกไม่กี่นาทีถัดมา ความร้อนสูงกว่าปกติถึง 100 เท่า ก้อนวัตถุที่อยู่ในแกนเตาเริ่มปะทุและน้ำที่อยู่ในระบบทำความเย็นก็ร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้หลังคาอาคารที่คลุมเตาปฏิกรณ์หลอมเปลี่ยนรูปเพราะความร้อน และปลิวหลุดออกไป ตามด้วยสิ่งที่อยู่ในเตาก็พวยพุ่งออกมาราวกับภูเขาไฟปะทุ
สภาพอากาศบริเวณนั้นเต็มไปด้วยสะเก็ดจากเตา ซึ่งมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เต็มไปหมด ทำให้เกิดติดไฟและระเบิดในที่สุด
หลังหายนะที่แสนอันตราย แต่ดูเหมือนไม่ร้ายแรง
นักผจญเพลิงปีนขึ้นไปบนหลังคาของโรงงานเพื่อจะสยบเพลิงที่ลุกโชติช่วง ขณะเดียวกันเฮลิคอปเตอร์หลายต่อหลายลำก็ทยอยขนทรายมาใส่ในเตาเพื่อลดแรงไฟและกัมมันตรังสีที่แผ่ออกมา
เหล่านักผจญเพลิงและพลทหารที่มาช่วยกันในครั้งนี้ ต่างก็ไม่รู้ว่าการเข้ามาเกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสีนั้นมีความเสี่ยงมาน้อยแค่ไหน อีกทั้งในภายหลังก็มีรายงานว่าคนกลุ่มนี้หลังจากช่วยดับเพลิงจนสำเร็จแล้วก็เสียชีวิตเพราะพิษกัมมันตภาพรังสี
หายนะภัยครั้งนี้ถูกประเมินว่ารุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มนางาซากิและฮิโรชิมาในญี่ปุ่นถึง 100 เท่า สารกัมมันตภาพรังสียังคงปนเปื้อนอยู่ต่อเนื่องแม้ว่าเชอร์โนบิลจะปิดตัวลงแล้ว แต่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งครอบคลุมเบลารุส ยูเครน และรัสเซียมีเพียง 350,000 คนที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น แต่อีก 5.5 ล้านคนยังคงอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการปนเปื้อนของซีเซียมและสตรอนเทียม ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังฝังแน่นอยู่ตามผืนดิน และหลังจากเกิดอุบัติเหตุระเบิด ก็พบกัมมันตรังสีปนเปื้อนอยู่ในทุกๆ ประเทศที่เหนือขึ้นไปตามทิศทางลมที่พัดพา
ที่แย่กว่านั้นคือบางประเทศที่ได้รับกระแสลมพัดตรงมาจากเชอร์โนบิล พร้อมกับฝนที่นานๆ ครั้ง จึงทำให้การปนเปื้อนมีมากกว่าพื้นที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุด้วยซ้ำ อย่างเช่นประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ได้รับผลกระทบรุนแรงไม่แพ้กันเพราะอยู่ในทิศทางลมพอดี อีกทั้งฟาร์มบางแห่งบนเกาะอังกฤษก็ยังปรากฏการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสีอีกด้วย
สุขภาพผู้เคราะห์ร้าย...รับกัมมันตภาพรังสีสะสม
จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดที่เชอร์โนบิลมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุจำนวนผู้เสียชีวิตว่ามีถึง 9,000 รายด้วยมะเร็งอันเนื่องมาจากการรับสารรังสีเข้าไป แต่ก็ยังมีอีกจำนวนมากที่ประสบปัญหาทั้งทางด้านภาวะเศรษฐกิจและสุขภาพจิตอีกด้วย
ขณะเดียวกันกรีนพีซก็เชื่อว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพน่าจะมากกว่าที่ยูเอ็นคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะเสียชีวิตด้วยมะเร็งน่าจะสูงถึง 93,000 คน และโรคอื่นๆ อีกถึง 200,000 คน
โรคที่เห็นเด่นชัดว่าเป็นผลพวงมาจากการรั่วไหลของกัมมัตภาพรังสีคือมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ โดยพบมากถึง 4,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่กำลังเป็นเด็กและวัยรุ่นในช่วงที่เกิดเหตุระเบิด และกรีนพีซยังเชื่อว่าน่าจะมีอีก 60,000 รายที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ จากจำนวนผู้ป่วย 270,000 รายที่เป็นมะเร็งชนิดต่างๆ อันเป็นผลมาจากกัมมันตภาพรังสี
อย่างไรก็ดี การระเบิดครั้งนี้ กลายเป็นบทเรียนสำคัญของมนุษย์ในการนำวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ โดยต้องมีความละเอียดรอบคอบ และเตรียมรับมือกับผลกระทบเป็นอย่างดี ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ได้ตั้งหน่วยรับมือฉุกเฉินที่กรุงเวียนนาของออสเตรียเมื่อปี 2529 มีอุปกรณ์การสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเอกสารและฐานข้อมูลที่จำเป็นในกรณีเกิดอุบัติเหตุสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล มีเจ้าหน้าที่ประจำการ 30 คน ตลอด 24 ชั่วโมง และมีผู้ X วชาญด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์พร้อมเดินทางไปยังที่เกิดเหตุในประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือและประเมินสถานการณ์ โดยหวังว่าจะพยายามป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก
การสร้างสิ่งปกคลุมเครื่องปฏิกรณ์เชอร์โนบิลที่ถูกทำลาย
Views: 26853
Only registered users can write comments. Please login or register. Powered by AkoComment Tweaked Special Edition v.1.4.6 AkoComment © Copyright 2004 by Arthur Konze - www.mamboportal.com All right reserved |