การเล่น Trampoline
คลิกดูภาพเคลื่อนไหวค่ะ
เล่นเกม Trampoline
คลิกค่ะ
ทฤษฎีเรื่องน้ำหนัก
การทดลองเรื่องแรงของสปริง
Masses & Springs (มวล และสปริง)
A realistic mass and spring laboratory. Hang masses from springs and adjust the spring stiffness and damping. You can even slow time. Transport the lab to different planets. A chart shows the kinetic, potential, and thermal energy for each spring. ขนาดของไฟล์ 118 KB คลิกค่ะ
ทดลองไม่ได้ให้ download ไป setup ก่อนครับ
หน้าที่และชนิดของสปริง
สปริงจะยุบและยืดตัวเมื่อล้อวิ่งผ่านผิวถนนที่ขรุขระ ส่งผลให้ล้อเคลื่อนที่ขึ้น-ลงได้เกือบอิสระในแนวดิ่งจากโครงรถ ทำให้สามารถ " ดูดกลืน" (Absorb) แรงเต้นของล้อลงได้ แรงจากการเคลื่อนที่ของล้อจึงถูกส่งถ่ายไปยังตัวถังน้อยกว่าที่ ล้อเต้นจริง ผลก็คือผู้โดยสารและน้ำหนักบรรทุกจะได้รับแรงสะเทือนจากล้อลดลง นั่นเอง
เรามักเข้าใจว่า " สปริง" คือ ขดลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดต่างๆ ขดเป็นวง รูปทรงกระบอก (สปริงขด หรือ Coil Spring) แบบอย่างที่เราคุ้นเคยกันมาตลอด แต่ในความเป็นจริง สปริงยังมีอยู่อีกหลายประเภท หลายรูปแบบ และที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ แหนบ(Leaf Spring), เหล็กบิด หรือทอร์ชั่นบาร์(Torsion bar), สปริงลม (Air Spring), สปริงยาง (Rubber Spring) และ ไฮโดรนิวเมติก (Hydro - Pneumatic) ในอนาคตเมื่อความก้าวหน้าทางวิศวกรรมสูงขึ้นอีก ก็อาจมีสปริงรูปแบบใหม่ๆ ออกมาใช้งานอีกก็เป็นได้ แหนบจะรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนโดยการ " โค้งหรืองอตัว" ของแผ่นแหนบ สปริงขดรับน้ำหนักโดยการ "หด หรือยุบตัว" ของขดสปริง ส่วนเหล็กบิด หรือทอร์ชั่นบาร์ นั้น จะรับแรงสั่นสะเทือนโดยการ " บิดตัวของเพลา" , สปริงลมลดแรงสั่นสะเทือนจากการ "อัดตัวของลม" ในถุงลม , ส่วนสปริงแบบไฮโดรนิวเมติก ดูดซับแรงสั่นสะเทือน โดยการอัดตัวของแก๊สไนโตรเจนและของเหลว (ที่ใช้อยู่เป็นน้ำมันไฮดรอลิก) ในระบบ
แบบคานแข็ง (Solid axle suspension) คานแข็ง
ล้อด้านซ้ายและล้อด้านขวาอยู่บนเพลาเดียวกัน เป็นแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมาและในปัจจุบันก็ยังมีใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถบรรทุก รถยนต์นั่งมีเฉพาะล้อหลัง แต่ก็มีให้เห็นน้อยลงเรื่อยๆ ข้อดี คือ แข็งแรง ทนทาน ค่าสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ มีน้ำหนักใต้สปริงมาก เมื่อล้อใดล้อหนึ่งเอียงไป ล้อที่อยู่บนคานเดียวกันจะเอียงตามไปด้วย การควบคุมรถที่ความเร็วสูง และสภาพถนนขรุขระจึงไม่ดีเท่าที่ควร
ค่า K ของสปริงรถยนต์คืออะไร
ค่า k ของสปริงรถยนต์คือค่าความแข็งของ ขดสปริงรถยนต์หรือคอยล์สปริง ที่ใช้ในระบบรองรับน้ำหนักรถยนต์สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ เมื่อทำการออกแบบระบบรองรับน้ำหนักรถยนต์ วิศวกรจะต้องกำหนดค่า k ของคอยล์สปริงให้เหมาะสมกับการใช้งานและน้ำหนักของรถยนต์ เพื่อให้ได้สมรรถนะการขับขี่และยึดเกาะถนนที่ดี รวมถึงการทรงตัว และความนุ่มนวลในการขับขี่ โดยสอดคล้องกับการใช้งานจริง
รถยนต์ในแต่ละยี่ห้อจะมีค่า k ที่แตกต่างกันออกไป ถึงแม้ในรถบางรุ่นที่ใช้ตัวถังเดียวกัน แต่ต้องดูว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง เช่น ขนาดของเครื่องยนต์ ตำแหน่งการจัดวางเครื่อง การออกแบบระบบขับเคลื่อน ระบบกันสะเทือน น้ำหนักรถยนต์รวมทั้งความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกขณะใช้งาน
ค่า k ของสปริงแข็ง เหมาะสำหรับรถยนต์ที่ใช้ความเร็วสูง จะช่วยให้ยึดเกาะถนนทรงตัวดี แต่หากใช้กับการใช้งานทั่วไปที่ ความเร็วต่ำจะขาดความ นุ่มนวลไปบ้าง แต่ก็ขึ้นกับปัจจัยอื่นประกอบ
ค่า k ของสปริงอ่อน เหมาะสำหรับรถยนต์ที่ใช้งานในความเร็วต่ำๆ ซึ่งจะให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ แต่เมื่อใช้ความเร็วสูงๆ จะทำให้รถมีอาการโยนตัวหรือโคลงได้
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า หลายคนเมื่อซื้อรถยนต์ใหม่ก็อยากที่จะไปตกแต่งระบบกันสะเทือนใหม่ โดยใช้วิธีเปลี่ยนล้อ เพิ่มขนาดล้อ ดัดแปลงคอยล์สปริงด้วยการตัดหรือเปลี่ยนใหม่ แม้กระทั่งยกชุดเปลี่ยนโช้คอัพใหม่ทั้ง 4 ตัว ตามร้านประดับยนต์ทั่วไป
ดังนั้น หากผู้ใช้รถมีความประสงค์ที่จะดัดแปลงระบบช่วงล่างให้แตกต่างจากโรงงานกำหนด ควรคำนึงถึงค่า k ว่าเหมาะสมกับการใช้งานจริงหรือไม่ หรือสอบถามผู้ที่ชำนาญก่อนตัดสินใจ
|